วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งขอเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 กำหนด ให้คนต่างด้าวที่มีความประสงค์จะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรสามารถยื่นคำขอ เพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งขอเข้ามามีถิ่นที่ อยู่ในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
1.1 คนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอต้องถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้วโดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันยื่นคำขอ
1.2 คนต่างด้าวที่มีอายุ 14 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสอบประวัติดังต่อไปนี้
1.2.1 พิมพ์ ลายนิ้วมือและกรอกประวัติลงในแบบพิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าวส่งไป ตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิด หรือไม่
1.2.2 ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมที่คนต่างด้าวนำมาแสดง
1.2.3 ตรวจสอบว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 หรือไม่ โดยตรวจสอบจากระบบบัญชีเฝ้าดูของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
1.2.4 ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากลจากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.3 คน ต่างด้าวต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยหรือ เงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต
1.4 คนต่างด้าวต้องพูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ

2. ประเภทการยื่นคำขอ
2.1 ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน
2.2 ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน
2.3 ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี้
2.3.1 กรณีคู่สมรสขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย
2.3.2 กรณีบุตรขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
2.3.3 กรณีบิดาหรือมารดาขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย
2.3.4 กรณี คู่สมรสขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความ อุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
2.3.5 กรณี บุตรขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะ ของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
2.3.6 กรณี บิดาหรือมารดาขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ใน ความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
2.4 ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
2.5 ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย

3. คุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภท
3.1 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน มีดังต่อไปนี้
3.1.1 เป็นผู้นำเงินเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทโดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยซึ่งแสดงหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยและ
3.1.2 การลงทุนต้องมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันในกรณีดังต่อไปนี้
1) ลง ทุนในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดโดยต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการลงทุน ซึ่งรับรองโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องและกิจการนั้นจะต้องไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย วัฒนธรรมหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือ
2) ลง ทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังหรือธนาคาร แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้ำประกันโดยแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้นหรือ
3) ลง ทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติหรือรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ พร้อมกับแสดงหลักฐานใบหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น
3.1.3 คน ต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่แล้วต้องแสดงหลักฐานการถือครองการ ลงทุนต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเดือนกันยายนของแต่ละปี เป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกันนับตั้งแต่วันได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่ อยู่โดยให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการลงทุนดัง กล่าวว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้หรือไม่ แล้วรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองทราบภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
3.1.4 เมื่อ ตรวจสอบในภายหลังพบว่าคนต่างด้าวรายใดที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช อาณาจักรแล้ว ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกำหนดไว้ ให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง รายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งเพิกถอนการ อนุญาตได้
3.2 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน มีดังต่อไปนี้
3.2.1 คน ต่างด้าวต้องทำงานตำแหน่งระดับผู้บริหาร ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งประธานกรรมการ หรือกรรมการของนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทและมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำร้องโดยคนต่างด้าวมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้องและ
3.2.2 ธุรกิจที่คนต่างด้าวทำงานนั้น เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอันได้แก่
1) ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าต่างประเทศโดยเป็นบริษัทที่มียอดเงินตราต่างประเทศในการส่งสินค้าออกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 20 ล้าน บาทโดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นบริษัทให้เงิน กู้แก่บริษัทที่ผลิตสินค้าในประเทศโดยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในรอบ 3 ปีรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทหรือ
2) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเป็นบริษัทดำเนินกิจการท่องเที่ยวที่มีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี แสดงว่าบริษัทได้นำนักท่องเที่ยวเข้ามา เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 5,000 คนโดยมีหนังสือรับรองที่แสดงรายละเอียดจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือ
3) ธุรกิจอื่น ๆ ต้องเป็นธุรกิจที่คนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้นที่ชำระแล้วเต็มมูลค่าในนิติบุคคลนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
3.2.3 หากคนต่างด้าวไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3.2.1 และ 3.2.2 ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1) เป็นผู้มีใบอนุญาตทำงานในประเทศ (WORK PERMIT) มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
2) ต้องทำงานในบริษัทฯ ที่ยื่นคำขอมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
3) มีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 80,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ หรือ มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
3.3 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมแต่ละกรณี มีดังนี้
3.3.1 กรณีคู่สมรสขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) ประเภทผู้ให้ความอุปการะทำงานในประเทศไทย
(1) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและมีบุตรด้วยกันจริง ในกรณีที่ไม่สามารถมีบุตรได้ต้องนำใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงเหตุผลการไม่สามารถ มีบุตร จากโรงพยาบาลมาแสดง ส่วนในกรณีที่ไม่มีบุตรและไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มาแสดงถึงเหตุผลการไม่ สามารถมีบุตรได้ จะต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
(2) คู่สมรสคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนรวมกันมีรายได้เพียงพอต่อการให้ความอุปการะ โดยมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้องและ
(3) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
2) ประเภทผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้สูงอายุ
(1) คนต่างด้าวต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(2) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
3.3.2 กรณี บุตรขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะ ของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตและ
(2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้องและ
(4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
(1) เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิตและมีการจดทะเบียนรับรองบุตรและ
(2) เป็นบุตรที่ยังไม่สมรสและอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดงและเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปีหรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกัน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้องและ
(4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
3.3.3 กรณี บิดาหรือมารดาขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทยมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรผู้มีสัญชาติไทย
(1) เป็นบิดาหรือมารดาโดยหลักสายโลหิตและมีการจดทะเบียนรับรองบุตรและ
(2) เป็นบุตรที่ยังไม่สมรสและอายุต่ำกว่า 20 ปี หากอายุตั้ง แต่ 20 ปี ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดงและเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง และ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง
2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตและ
(2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้องและ
(4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ
3.3.4 กรณี คู่สมรสขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความ อุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วมีดัง ต่อไปนี้
1) เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายโดยต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
2) คู่สมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอและ
3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุนหรือเข้ามาเพื่อทำงาน
3.3.5 กรณี บุตรขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาต ให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี้
1) ประเภทบุตรให้ความอุปการะบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตและ
(2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(3) บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอและ
(4) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน
2) ประเภทบุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตที่ยังไม่สมรส และอายุตํ่ากว่า 20 ปีหากอายุตั้งแต่ 20 ปี ฃึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดงและ
(2) บิดาหรือมารดา แสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือ เข้ามาเพื่อทำงาน
3.3.6 กรณี บิดาหรือมารดาขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ใน ความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วมีดัง ต่อไปนี้
1) ประเภทบิดาหรือมารดาให้ความอุปการะบุตรที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตที่ยังไม่สมรส และอายุตํ่ากว่า 20 ปีหากอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่นกำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปี หรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งต้องนำใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดงและ
(2) บิดาหรือมารดาแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอและ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน
2) ประเภทบิดาหรือมารดาขออยู่ในความอุปการะของบุตรที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว
(1) เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิตและ
(2) บิดาหรือมารดาต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอและ
(3) ผู้ให้ความอุปการะแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอและ
(4) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน
3.4 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) ต้องเป็นบุคคลผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีความสามารถเป็นพิเศษอยู่ในความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ
2) ต้องได้รับการสนับสนุนและมีหนังสือรับรองเป็นหลักฐานจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ
3) มีหนังสือรับรองซึ่งรับรองการทำงานในหน้าที่การงานนั้น ๆ ระบุระยะเวลาการทำงานอย่างน้อย 3 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
3.5 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทกรณีพิเศษเฉพาะรายมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) เป็น ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยหรือรัฐบาลไทยหรือได้รับการคัดเลือกจาก สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับชาติอันเชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นที่ เป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือทำงานให้กับหน่วยงาน และ
2) มีหนังสือรับรองตั้งแต่ระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจากส่วนราชการหรือข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้น ไป หรือข้าราชการทหาร ตำรวจ ชั้นยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก หรือข้าราชการการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา หรือคณะกรรมการองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดของผลงานหรือ
3) คุณสมบัติอื่นใด หรือจำนวนที่จะอนุญาตตามที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองเห็นสมควร



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น